วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
SMEs เข้าใจผู้บริโภคออนไลน์มีพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์
ถ้าพูดถึงผู้บริโภคที่จับจ่ายอยู่บน Online มักให้ความสำคัญกับ
การเช๊คราคา หลายๆแหล่ง
ผู้ซื้อจะเช็คจนกว่าจะถูก ไม่ว่าถูกกว่านิดหน่อยก็ขอให้ได้ราคาสุดท้ายที่ถูกที่สุด เพราะอำนาจอยู่ปลายนิ้ว ขึ้นอยู่กับว่า จะทำให้เค้าเชื่อใจได้ว่าซื้อที่คุณ ถูกที่สุด หรือมีอย่างอื่นมาทดแทนได้ เช่น มีการประกันสินค้า ในหลายๆแง่มุม เช่น ประกันความพอใจ ยินดีคืนเงินใน 30 วัน เป็นต้น ผู้ซื้อทุกคนต่างก็มีอำนาจในการสืบค้นจนกว่าจะพอใจ แต่จะทำอย่างไรให้เค้าพอใจโดยที่ไม่ไปค้นหาที่อื่นต่อจะทำได้อย่างไร
ข้อดีก็คือ ถ้าคุณมีข้อเสนอหรือราคาดีที่สุด เค้าก็จะมั่นใจซื้อสินค้าคุณทันที (ซึ่งคุณเองก็มีโอกาสทำการบ้านค้นหาก่อนที่ลูกค้าจะค้นหา เพื่อกำหนดราคาของคุณที่ดีที่สุดในตลาดได้)
แหล่งที่มาน่าเชื่อถือพอหรือไม่
ความน่าเชื่อถือ ของร้านค้าออนไลน์มาจากหลายๆ จุดประกอบกัน เช่น
- มีระบบรับประกันความพึงพอใจ ยินดีคืนเงิน หากไม่พอใจสินค้า
- มีระบบจ่ายเงินตอนรับของ เพื่อเป็นการรับประกันว่าได้ของแน่นอน เห็นของก่อนค่อยจ่าย
- มี Feedback จากผู้ซื้อรายอื่นๆในแง่บวกหรือไม่
เมื่อคุณทราบทั้งหมดนี้แล้ว และทำได้ครบทุกข้อ โอกาสได้ลูกค้าก็มีสูงทีเดียว
สินค้าหรือบริการ ถ้าไม่ดี คุณโดนแฉชั่วข้ามคืน
โลกออนไลน์ อำนาจอยู่ปลายวิ้ว ผู้บริโภคใช้ Social Media ของตนเป็นอาวุธ ต่อรองกับผู้ให้บริการเป็นอย่างดี หากคุณทำให้เค้าไม่พอใจ เรื่องเหล่านั้นก็จะถึงเครือข่ายย่อยเช่น Facebook หรือ อาจจะออกไปสู่เครือข่ายใหญ่เช่น Pantip หรือ อาจจะไปสู่การแฉระดับโลกเช่น อัดวีดีโอออก Youtube เลยก็เป็นได้
ผู้ขายต้องเตรียมตัวรับมือกับสิ่งต่างๆที่อาจเกิดขึ้น อย่างไม่ขาดฝัน และรวดเร็วมากอีกด้วย
แต่ในทางกลับกัน ถ้าเค้าพอใจ รักสินค้าคุณ เค้าก็จะชมในช่องทางเดียวกันเหมือนกัน ทำให้คุณก็มีโอกาส ดังในขั่วข้าวคืนเช่นกัน
ธุรกิจออนไลน์ ความรู้เบื้องต้น SMEs E-Commerce
Trend ของ Digital Lifestyle ที่ทาง ISMED ได้กำหนดเป็นหนึ่งใน 6 MegaTrend
เป็นช่องทางใหม่ในโลกธุรกิจ ที่จะทำให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถสร้าง โอกาส ในการทำธุรกิจของตัวเองได้อย่างรวดเร็ว
หนึ่งใน Trend ที่กำลัง เติบโตอย่างต่อเนื่องมากที่ทาง ISMED ให้ความสนใจ ก็คือ ธุรกิจ E-COMMERCE
"E-COMMERCE" เป็นช่องทางที่สามารถผลักดันธุรกิจของท่านให้พบช่องทางการขายช่องทางใหม่ๆ ที่ใช้ทุนในการผลักดันสินค้าน้อยกว่าช่องทางอื่นๆมากมาย ซึ่งบางธุรกิจก็ใช้ช่องทาง "E-COMMERCE" นี้เป็นช่องทางหลักในการทำธุรกิจ
สินค้าต่างก็มีมากมายหลากหลายในท้องตลาด บางครั้งสินค้าที่ไปได้ดีในการทำการตลาดออนไลน์ ได้แก่ สินค้าที่หาซื้อได้ยาก เช่นของสะสม,ผู้ซื้อมีความเหนียมอายที่จะซื้อในที่สาธารณะ เช่นเสื้อผ้าคนอ้วน,สินค้าราคาถูกกว่าในห้าง เช่นลดล้างสต๊อก ,สินค้าที่มีเป็นสินค้าแฟชั่น เสื้อ และ เครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ ก็เป็นสินค้าที่ขายดีในโลกออนไลน์มากเช่นกัน
ในส่วนกลยุทธของธุรกิจออนไลน์ อันดับแรกที่เราควรให้ความสนใจก็คือ
1) Keyword
เราในฐานะเจ้าของธุรกิจ ต้องการจะผลักดันสินค้าของตนออกสู่ตลาด ให้ลองมองย้อนกลับเปรียบเหมือนว่าเราเป็นลูกค้าดู ให้คิดถึงว่าหากเราเป็นลูกค้า และกำลังต้องการหาซื้อสินค้าหนึ่งจาก Internet จะคิดถึงสินค้านั้นๆ จะค้นหาสินค้านั้นด้วยคำว่าอะไร
ซึ่งมีเครื่องมือต่างๆที่เข้ามาช่วยเราจัดการ หรือ ค้นหา Keyword ที่เหมาะสม พร้อมทั้งสามารถดูได้ว่ามีจำนวนผู้ค้นหาข้อมูลด้วย Keyword นั้นๆ จำนวนเท่าไร่ จากเครื่องมือของ Google AdWords ซึ่งสามารถศึกษา วิธีใช้งาน Google AdWords ได้ง่ายๆ เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดการตลาดออนไลน์ของสินค้าต่อไป
2) ภาพสินค้า
การสื่อความของภาพสินค้า ต้องตอบโจทย์ด้านการขาย ทำให้สามารถมองเห็นถึง ขนาด รูปทรง ได้ในแว๊ปแรกที่เห็น หรือไม่ก็เป็นการวาง กลยุทธที่ฝังไว้ในภาพ ถ่ายโดยนำเอาวัสดุที่มีขนาดเท่ากันทั่วโลกมาวางเพื่อให้ทราบขนาดของสินค้าเรา เช่น หากขายตุ๊กตาหมีก็ถ่ายภาพคนกอดตุ๊กตาหมีซักภาพหนึ่งประกอบด้วย ถ้าอยากให้หมีดูตัวใหญ่ ก็ให้เด็กกอด อยากให้คนซื้อไปเป็นของขวัญของคู่รัก ก็ให้เป็นรูปผู้ชายยื่นตุ๊กตาให้ผู็หญิงเป็นต้น
3) ส่งเสริมการขาย
หากสิืนค้าสมบูรณ์แบบด้านภาพและเนื้อหาแล้ว แต่วิธีการให้ลูกค้าตัดสินใจสินค้าเรา ต้องใช้กลยุทธที่แตกต่างกัน เช่น
สินค้าที่จัดชุดสมบูรณ์แบบซื้อทั้งเซ็ทได้ราคาส่วนลดที่หาไม่ได้จากที่ใหน
สินค้าที่ซื้อแล้วได้แต้มสะสมนำมาซื้อสินค้าอื่นๆได้อีก
ส่งคูปองส่วนลดทางอีเมลล์แล้วนำเป็นส่วนลดเสมือนเงินสดสามารถนำมาสินค้าที่ได้ตามเวลาที่กำหนด
สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นกลไกลเพื่อยอดขายที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ทั้งสิ้น
วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557
SMEs ต้องสื่อสารให้เป็น Single Message
การสื่อสารที่ชัดเจนที่สุด เพื่อทำให้ผู้รับสารเข้าใจได้ง่าย และรวดเร็วในยุค Digital Lifestyle ซึ่ง ผู้บริโภคออนไลน์มีพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ คือการสื่อสารแบบ ข้อความหลักข้อความเดียวที่พุ่งตรงไปยังผู้บริโภค หรือ Single Message
Single Message เป็นข้อความที่สื่อสารออกมา ด้วยคำพูดเพียงคำพูดเดียวรู้เรื่องทันที ที่อ่่านข้อความ เห็นภาพ
ตัวอย่าง Single Message บอกกระชับสั้นๆได้ใจความ ใช้คำพูดเดียวในหลายๆที่ ความหมายที่ต้องการสื่อแค่คำเดียว เช่น หากต้องการขายสินค้า คือ
ตัวอย่างที่ สะกิดใจได้แง่คิดในการตั้ง Keyword ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
หากข้อความโฆษณาสินค้าคือ
" สบู่ที่ทำจากมะม่วงที่ปลูกที่จังหวัดนนทบุรีเป็นที่ที่เป็นแหล่งดินดีปลูกมะม่วงได้สวยงามพร้อมสารอาหารที่ได้ก็ยังสามารถบำรุงผิวได้อย่างนุ่มชุ่มชื่นซึ่งสามารถวัดค่าความชุ่มชื่นได้สูงกว่าสบู่ผลไม้ชนิดอื่นๆ"
ซึ่งหากเราจะใส่ข้อมูลทั้งหมดนี้ไปในข้อความโฆษณา ในหัวข้อแรกที่ลูกค้าเห็น เป็นการยากที่ลูกค้าจะจำได้ว่าสินค้าคุณคืออะไร มีจุดเด่นอะไร และดีกว่าสินค้าอื่นอย่างไร
เค้าจะทนอ่านจนจบจริงหรือ ? ลูกค้าจะจำอะไรจากการอ่านข้อความนี้ได้บ้าง ?
แ้ล้วถ้าคู่แข่งคุณ มีคำที่น่าสนใจกว่าเช่น
- "สบู่น้ำแร่ ดีท็อกผิว"
- "สบู่ฝักกาด ออแกนิกซ์"
- "สบู่น้ำผึ้ง หน้าเด้ง"
อะไรจะจำง่ายและเข้าใจได้มากกว่ากัน เพราะเรามีสินค้าที่เป็นคู่แข่ง ที่พยามดึงความสนใจอยู่รอบตัว
วิธีการคือดึงจุดเด่นของสินค้าแยกเป็นข้อๆ
- สบู่ที่ทำจากมะม่วง
- มะม่วงที่ปลูกที่จังหวัดนนทบุรี
- มะม่วงที่ปลูกนั้นปลูกที่แหล่งดินดีปลูกมะม่วงได้สวยงาม
- สารอาหารที่ได้ก็ยังสามารถบำรุงผิว
- สามารถบำรุงผิวได้อย่างนุ่มชุ่มชื่น
- สามารถวัดค่าความชุ่มชื่นได้สูงกว่าสบู่ผลไม้ชนิดอื่นๆ
ตรวจหาจุดขายของเราที่เป็นจุดแข็ง
ผสมคำที่ "จับต้องได้ + จับต้องไม่ได้" หรือ "สิ่งที่เป็นที่รู้จัก + อารมณ์ความรู้สึกที่ได้รับจากสินค้านั้นๆ" เช่น สบู่มะม่วง+สดชื่น เป็นต้น
สรุป
ในการสื่อสารแต่ละครั้ง ที่ต้องแข่งขันกับสินค้าอื่นๆเราควรบอกเป็นอย่างๆไป ไม่ควรบอกข้อมูลหลายๆอย่างในครั้งเดียว เพราะลูกค้าอาจจะจำไม่ได้ ไม่อยากอ่่าน ละเลยความสนใจไปเลย ทำให้ข้อความนั้นไม่ถูกส่งต่อไปสู่ลูกค้าเป้าหมาย
ป้ายกำกับ:
Digital Lifestyle,
ibmd,
ismed,
Single Message,
SMEs
กลยุทธที่ฝังไว้ในภาพถ่ายเพื่อการขายสินค้าออนไลน์สำหรับ SMEs
ในบางครั้งการถ่ายภาพเพื่อขายของออนไลน์ หรือ E-Commerce เองก็ต้องมีกลยุทธเช่นเดียวกัน
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับประเภทรูปที่เราจะเตรียมก่อนนำไปขายกันก่อน
ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ชุดด้วยกัน
1) รูป thumbnail
คือรูปเล็กๆ ที่โชว์ในหน้ารวมหลัก ที่รวมอยู่ในหน้าเวปซื้อขาย ซึ่งจะเห็นปะปนกับสินค้าตัวอื่นๆ เรียกง่ายๆว่ามีสินค้าคู่แข่งข้างๆรอบตัว
ในส่วนนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสื่อสารออกมาแบบ Single Message เพื่อให้ผู้ซื้อเห็นแล้ว เข้าใจสินค้าเราทันที่ โดยไม่ได้บอกอะไรหลายๆอย่างพร้อมกันในเวลาเดียว เนื่องจากผู้บริโภคออนไลน์มีพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์
ซึ่งจะไม่อดทดเรียนรู้หรือสามารถมองข้างบางอย่างบนหน้าจอที่มันไม่กระจ่างชัดหรือสามารถตรึงให้เค้าเข้าไปสืบค้นต่อได้ เนื่องจากเค้ามีทางเลือกมากมายที่จะค้นคว้าและอำนาจอยู่ที่ปลายนิ้ว
Concept ของการเตรียมรูป thumbnail ก็คือ ทางที่ดีต้องพื้นหลังขาว เพื่อให้สินค้าชัดเจน
2) รูปสินค้าประกอบคำบรรยาย
ในส่วนนี้ เป็นรูปสินค้าที่ ที่ผู้ซื้อจะเห็นหลังจากคลิ๊กรูป thumbnail แล้ว ซึ่งโดยส่วนมากจะใช้ประกอบคำบรรยาย ซึ่งจะแบ่งเป็นรูป สินค้าแบบความละเอียดชัดเจน , ภาพแสดงการใช้งานให้เข้าใจว่าสินค้านี้ไว้ใช้ทำอะไร ,ขนาดของสินค้า บางครั้งใช้เปรียบเทียบกับสิ่งของมาตรฐานที่มีอยู่ทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น วางคู่กระป๋องน้ำอัดลม วางคู่กับไม้บรรทัด เพื่อให้กะประมาณการณ์ขนาดคร่าวๆได้
3) emotional picture
เป็นรูปที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อใช้สินค้านี้แล้วคุณจะรู้สึกอย่างไร เช่น สินค้าเครื่องออกกำลังการ ใช้แล้วล่ำ เครื่องสำอางค์ใช้แล้วสวย ของแต่งรถใช้แล้วรถแรง เป็นต้น
1) ทางใสสะอาดเพื่อความยั่งยืน (แนะนำ)
ให้ลูกค้าเห็นภาพสินค้าตามความเป็นจริง คือภาพรายละเอียดสินค้า จะมี 2 แบบ คือ emotional รูปถ่ายสวยงามจัดแต่งแสงสีและองค์ประกอบสวยงาม และ realistic คือรูปถ่ายสินค้าตรงๆ ทราบขนาด ด้วยแสงธรรมชาติ ไม่ปรับแต่งภาพ เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นของจริง ก่อนการติดสินใจ
ข้อดี ลูกค้าเห็นของในเวป และ ได้รับของ ตรงกัน (เป็นไปตามความต้องการ) และยั่งยืนเพราะมีโอกาสกลับมาซื้อซ้ำ และแนะนำต่อ เพราะลูกค้าไม่ผิดหวังจากภาพที่เห็นในเวปและของจริงนั้นเหมือนกัน
ข้อเสีย หากตัวสินค้ามีจุดบกพร่้อง ลูกค้าก็จะเป็นตรงๆ และจำนวนผู้ซื้อก็อาจจะน้อยลงไปตามจุดบกพร่องที่เห็น
2) ทางสีเทา ไม่ถูกต้องตามจริง 100% (ไม่แนะนำให้ทำเป็นอย่างยิ่ง)
ผู้ขายบางรายทำในสิ่งที่ไม่สมควรทำในโลกการขายสินค้าออนไลน์คือ ปรับแต่รูปให้สวยเกินจริง หรือตั้งใจให้ผู้บริโภคเข้าใจไม่ตรงกับความจริง เช่้นถ่ายให้ดูใหญ่เกินจริง ปรับแต่งสีสรรค์ หรือไม่ถ่ายให้ครบทั้งชิ้น ลีกเลี่ยงจุดที่เป็นข้อเสียของสินค้า โดยไม่บอกให้ผู้ซื้อทราบตามตรง
ข้อดี ดูเหมือนจะไม่มี เพราะหากลูกค้าหลงซื้อก็จะได้รับ feedback ไม่ดี
ข้อเสีย ไม่มีการซื้อซ้ำและโดน feedback ไม่ดี อาจโดนฟ้องบนเวปต่างๆ
ที่มาของภาพ ตลาดดอทคอม (TARAD.com)
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับประเภทรูปที่เราจะเตรียมก่อนนำไปขายกันก่อน
ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ชุดด้วยกัน
1) รูป thumbnail
คือรูปเล็กๆ ที่โชว์ในหน้ารวมหลัก ที่รวมอยู่ในหน้าเวปซื้อขาย ซึ่งจะเห็นปะปนกับสินค้าตัวอื่นๆ เรียกง่ายๆว่ามีสินค้าคู่แข่งข้างๆรอบตัว
ในส่วนนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสื่อสารออกมาแบบ Single Message เพื่อให้ผู้ซื้อเห็นแล้ว เข้าใจสินค้าเราทันที่ โดยไม่ได้บอกอะไรหลายๆอย่างพร้อมกันในเวลาเดียว เนื่องจากผู้บริโภคออนไลน์มีพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์
ซึ่งจะไม่อดทดเรียนรู้หรือสามารถมองข้างบางอย่างบนหน้าจอที่มันไม่กระจ่างชัดหรือสามารถตรึงให้เค้าเข้าไปสืบค้นต่อได้ เนื่องจากเค้ามีทางเลือกมากมายที่จะค้นคว้าและอำนาจอยู่ที่ปลายนิ้ว
Concept ของการเตรียมรูป thumbnail ก็คือ ทางที่ดีต้องพื้นหลังขาว เพื่อให้สินค้าชัดเจน
2) รูปสินค้าประกอบคำบรรยาย
ในส่วนนี้ เป็นรูปสินค้าที่ ที่ผู้ซื้อจะเห็นหลังจากคลิ๊กรูป thumbnail แล้ว ซึ่งโดยส่วนมากจะใช้ประกอบคำบรรยาย ซึ่งจะแบ่งเป็นรูป สินค้าแบบความละเอียดชัดเจน , ภาพแสดงการใช้งานให้เข้าใจว่าสินค้านี้ไว้ใช้ทำอะไร ,ขนาดของสินค้า บางครั้งใช้เปรียบเทียบกับสิ่งของมาตรฐานที่มีอยู่ทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น วางคู่กระป๋องน้ำอัดลม วางคู่กับไม้บรรทัด เพื่อให้กะประมาณการณ์ขนาดคร่าวๆได้
3) emotional picture
เป็นรูปที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อใช้สินค้านี้แล้วคุณจะรู้สึกอย่างไร เช่น สินค้าเครื่องออกกำลังการ ใช้แล้วล่ำ เครื่องสำอางค์ใช้แล้วสวย ของแต่งรถใช้แล้วรถแรง เป็นต้น
การใช้ภาพบน E-Commerce ก็ได้แบ่ง ตามลำดับขั้นของการซื้อของลูกค้าออกเป็นสองทางได้แก่
1) ทางใสสะอาดเพื่อความยั่งยืน (แนะนำ)
ให้ลูกค้าเห็นภาพสินค้าตามความเป็นจริง คือภาพรายละเอียดสินค้า จะมี 2 แบบ คือ emotional รูปถ่ายสวยงามจัดแต่งแสงสีและองค์ประกอบสวยงาม และ realistic คือรูปถ่ายสินค้าตรงๆ ทราบขนาด ด้วยแสงธรรมชาติ ไม่ปรับแต่งภาพ เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นของจริง ก่อนการติดสินใจ
ข้อดี ลูกค้าเห็นของในเวป และ ได้รับของ ตรงกัน (เป็นไปตามความต้องการ) และยั่งยืนเพราะมีโอกาสกลับมาซื้อซ้ำ และแนะนำต่อ เพราะลูกค้าไม่ผิดหวังจากภาพที่เห็นในเวปและของจริงนั้นเหมือนกัน
ข้อเสีย หากตัวสินค้ามีจุดบกพร่้อง ลูกค้าก็จะเป็นตรงๆ และจำนวนผู้ซื้อก็อาจจะน้อยลงไปตามจุดบกพร่องที่เห็น
2) ทางสีเทา ไม่ถูกต้องตามจริง 100% (ไม่แนะนำให้ทำเป็นอย่างยิ่ง)
ผู้ขายบางรายทำในสิ่งที่ไม่สมควรทำในโลกการขายสินค้าออนไลน์คือ ปรับแต่รูปให้สวยเกินจริง หรือตั้งใจให้ผู้บริโภคเข้าใจไม่ตรงกับความจริง เช่้นถ่ายให้ดูใหญ่เกินจริง ปรับแต่งสีสรรค์ หรือไม่ถ่ายให้ครบทั้งชิ้น ลีกเลี่ยงจุดที่เป็นข้อเสียของสินค้า โดยไม่บอกให้ผู้ซื้อทราบตามตรง
ข้อดี ดูเหมือนจะไม่มี เพราะหากลูกค้าหลงซื้อก็จะได้รับ feedback ไม่ดี
ข้อเสีย ไม่มีการซื้อซ้ำและโดน feedback ไม่ดี อาจโดนฟ้องบนเวปต่างๆ
ที่มาของภาพ ตลาดดอทคอม (TARAD.com)
วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557
ISMED ร่วมกับ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ผลักดันมาตรฐานอาชีพสปาไทย
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพผลักดันมาตรฐานอาชีพสปาไทยร่วมกับเจ้าของอาชีพ
Trend : She-conomy
เมื่อวันที่ 19 , 20 และ 24 ธค. 2556 ที่ผ่านมา สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (สคช.) และสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(ISMED) ร่วมกันประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับคณะทำงานหน่วยสมรรถนะ Unit Of Competence ทั้ง 3 สายงาน ได้แก่ สายงาน Front สายงาน Service สายงาน Support ภายใต้ “โครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพสาขาสปา” ณ โรงแรม S15 กรุงเทพฯ เพื่อร่วมกันพัฒนาสมรรถนะมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพนำไปสู่ความก้าวหน้าในอาชีพต่อไป
เมื่อวันที่ 19 , 20 และ 24 ธค. 2556 ที่ผ่านมา สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (สคช.) และสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(ISMED) ร่วมกันประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับคณะทำงานหน่วยสมรรถนะ Unit Of Competence ทั้ง 3 สายงาน ได้แก่ สายงาน Front สายงาน Service สายงาน Support ภายใต้ “โครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพสาขาสปา” ณ โรงแรม S15 กรุงเทพฯ เพื่อร่วมกันพัฒนาสมรรถนะมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพนำไปสู่ความก้าวหน้าในอาชีพต่อไป
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ผลักดันมาตรฐานอาชีพสปาไทย ร่วมกับเจ้าของอาชีพ
หลังจากนั้น จะมีการระดมพลเจ้าของอาชีพสปาเข้าร่วมประชุมประชาพิเคราะห์การจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพสปา ในวันที่ 20 มกราคม 2557 เวลา 09.00-16.30 น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุภาพร แย้มเสาธง 02-5644000 ต่อ 3012
จำนวนผู้เข้าชม
วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557
ความสามารถของเครื่องมือออนไลน์ ที่ช่วย SMEs ตรวจสอบทิศทางธุรกิจของท่าน
Trend : Digital Lifestyle
เครื่องมือที่จะช่วยตรวจสอบทิศทางความสนใจเบื้องต้นของโลกที่มีต่อธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง
หนึ่งในเครื่องมือที่มีความน่าสนใจคือ google trends ( http://www.google.co.th/trends/ )
เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบ Trend ที่เกิดขึ้นของโลกได้ ผ่านหน้าจอง่ายและสะดวก เพียงไม่กี่คลิ๊ก
การทำงานของ Google Trend คือการตรวจสอบปริมาณความสนใจของคนที่เข้าค้นหาข้อมูลผ่าน google และ พันธมิตรการค้นหาต่างๆ ผ่านคำค้นหาต่างๆ เราสามารถดูได้ไม่ว่าจะเป็นค้นมาจากประเทศอะไร เมื่อไร่ ซึ่งเป็นประโยชน์มากๆสำหรับโลกในยุค Digital Lifestyle
ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการจะจัดสินค้าช่วงเทศการปีใหม่ ไม่ว่าจะเพื่อขายออนไลน์หรือต้องการกระตุ้นการรับรู้ของตลาดในกช่องทางการค้าปรกติ
ซึ่งหากผู้ประกอบการ SMEs อยา่กทราบว่า
1) ผู้ซื้อเริ่มเข้ามาค้นหาสินค้าประเภทนี้เมื่อไร่ จะได้เริ่มโฆษณาได้ตรงวัน
2) มาจากประเทศอะไร ซึ่งสื่อออนไลน์สามารถกำหนดพื้นที่แสดงโฆษณาได้ ทำให้เฉพาะเจาะจง
3) ส่วนใหญ่ผู้ซื้อสนใจซื้อสินค้าใด
เพียงเราใส่ตัวอย่างของคำค้นหาที่เราคาดการว่ามีคนสนใจเข้าไป
ตามตัวอย่างนี้คือค้นหาคำว่า "ของขวัญปีใหม่"
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ Trend แสดงให้เราเห็นทันทีเลยว่า เป็นการสนใจแบบเป็นช่วงๆอย่างชัดเจน แต่สิ่งที่เราจะรู้และใช้ประโยชน์คือ เริ่มสนใจเมื่อไร่ และมีความสนใจเพิ่มขึ้นหรือไม่
เมื่อซักครู่เป็นการค้นหาแบบทั่วโลก (ด้วยคำค้นหาภาษาไทย ก็จะเจอแต่คนที่ใช้ภาษาไทยในการค้นหาทั่วโลก อาจจะเป็นคนในประเทศ หรือ อาจจะเป็นคนไทยในต่างแดน )
และเรายังสามารถเจาะจง แค่การค้นหาที่เกิดขึ้นในประเทศเท่าน้น (กดเลือกประเทศที่มุมซ้ายด้านบน เปลี่ยนคำว่า "ทั่วโลก" เป็น "ไทย"
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ
เราเจอการค้นหาเจาะจงแค่ในประเทศเท่านั้น
ทำให้เราเริ่มเจาะเข้าไปทราบถึงเมืองที่มีความสนใจ จริงอยู่ว่าคนสนใจ "ของขวัญปีใหม่" อยู่ทั่วประเทศ แต่ เืพื่อการทำการโปรโหมดอย่างคุ้มค่าของ SMEs เราควรต้องให้งบให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการเฉพาะเจาะจง ตลาดที่เราต้องการจะสื่อสารไป เพื่อเป้าหมายในการเข้าถึงที่ตรงเป้า ชัดเจน
และเราก็ยังทราบได้อีกว่าความสนใจ "ของขวัญปีใหม่" นั้นเค้าสนใจอะไรกัน ตามที่เห็นอยู่ในภาพ ผู้ประกอบการ SMEs ก็เริ่มจะมองเห็นแล้วว่า ของขวัญปีใหม่ที่คนสนใจในโลกออนไลน์ มีความเป็นไปได้ว่า คือกระเช้า ปืีใหม่นั่นเอง เราก็คงเริ่มจะจับทางของสินค้าได้แล้วว่าจะปรับตัวออกสินค้าตามเทศการได้อย่างไร และนำไปเป็นเหตุผลสนับสนุนการตัดสินใจได้ไม่ยาก
นี่เป็นเพียงตัวอย่างเพื่อความเข้าใจ ได้ง่ายๆเท่านั้น แต่ ผู้ประกอบการ SMEs ลองนึกภาพดูว่า หาก เราไม่ค้นหาคำนี้ ลองเปลี่ยนเป็นคำอื่นๆที่เราต้องการทำธุรกิจ ที่มีมูลค่า ที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น "รถมือสอง" "ที่ดิน" "คอนโด" "หุ้น" ให้ตอบรับกับธุรกิจของท่าน
เท่านี้เราก็เริ่มรู้จักกับ Google Trends เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการตลาดของเราได้ เบื้อต้นแล้ว
ตอนต่อไปเราจะเริ่มลงลึกไปว่า เราจะเปรียบเทียบความสนใจในแต่ละคำค้นหาได้อย่างไร และเจาะลึกไปยังความสนใจเพื่อเลือกข้อความในการโปรโหมดสินค้าผ่าน online เราได้อย่างถูกต้อง
เครื่องมือที่จะช่วยตรวจสอบทิศทางความสนใจเบื้องต้นของโลกที่มีต่อธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง
หนึ่งในเครื่องมือที่มีความน่าสนใจคือ google trends ( http://www.google.co.th/trends/ )
เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบ Trend ที่เกิดขึ้นของโลกได้ ผ่านหน้าจอง่ายและสะดวก เพียงไม่กี่คลิ๊ก
การทำงานของ Google Trend คือการตรวจสอบปริมาณความสนใจของคนที่เข้าค้นหาข้อมูลผ่าน google และ พันธมิตรการค้นหาต่างๆ ผ่านคำค้นหาต่างๆ เราสามารถดูได้ไม่ว่าจะเป็นค้นมาจากประเทศอะไร เมื่อไร่ ซึ่งเป็นประโยชน์มากๆสำหรับโลกในยุค Digital Lifestyle
ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการจะจัดสินค้าช่วงเทศการปีใหม่ ไม่ว่าจะเพื่อขายออนไลน์หรือต้องการกระตุ้นการรับรู้ของตลาดในกช่องทางการค้าปรกติ
ซึ่งหากผู้ประกอบการ SMEs อยา่กทราบว่า
1) ผู้ซื้อเริ่มเข้ามาค้นหาสินค้าประเภทนี้เมื่อไร่ จะได้เริ่มโฆษณาได้ตรงวัน
2) มาจากประเทศอะไร ซึ่งสื่อออนไลน์สามารถกำหนดพื้นที่แสดงโฆษณาได้ ทำให้เฉพาะเจาะจง
3) ส่วนใหญ่ผู้ซื้อสนใจซื้อสินค้าใด
เพียงเราใส่ตัวอย่างของคำค้นหาที่เราคาดการว่ามีคนสนใจเข้าไป
ตามตัวอย่างนี้คือค้นหาคำว่า "ของขวัญปีใหม่"
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ Trend แสดงให้เราเห็นทันทีเลยว่า เป็นการสนใจแบบเป็นช่วงๆอย่างชัดเจน แต่สิ่งที่เราจะรู้และใช้ประโยชน์คือ เริ่มสนใจเมื่อไร่ และมีความสนใจเพิ่มขึ้นหรือไม่
เมื่อซักครู่เป็นการค้นหาแบบทั่วโลก (ด้วยคำค้นหาภาษาไทย ก็จะเจอแต่คนที่ใช้ภาษาไทยในการค้นหาทั่วโลก อาจจะเป็นคนในประเทศ หรือ อาจจะเป็นคนไทยในต่างแดน )
และเรายังสามารถเจาะจง แค่การค้นหาที่เกิดขึ้นในประเทศเท่าน้น (กดเลือกประเทศที่มุมซ้ายด้านบน เปลี่ยนคำว่า "ทั่วโลก" เป็น "ไทย"
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ
เราเจอการค้นหาเจาะจงแค่ในประเทศเท่านั้น
ทำให้เราเริ่มเจาะเข้าไปทราบถึงเมืองที่มีความสนใจ จริงอยู่ว่าคนสนใจ "ของขวัญปีใหม่" อยู่ทั่วประเทศ แต่ เืพื่อการทำการโปรโหมดอย่างคุ้มค่าของ SMEs เราควรต้องให้งบให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการเฉพาะเจาะจง ตลาดที่เราต้องการจะสื่อสารไป เพื่อเป้าหมายในการเข้าถึงที่ตรงเป้า ชัดเจน
และเราก็ยังทราบได้อีกว่าความสนใจ "ของขวัญปีใหม่" นั้นเค้าสนใจอะไรกัน ตามที่เห็นอยู่ในภาพ ผู้ประกอบการ SMEs ก็เริ่มจะมองเห็นแล้วว่า ของขวัญปีใหม่ที่คนสนใจในโลกออนไลน์ มีความเป็นไปได้ว่า คือกระเช้า ปืีใหม่นั่นเอง เราก็คงเริ่มจะจับทางของสินค้าได้แล้วว่าจะปรับตัวออกสินค้าตามเทศการได้อย่างไร และนำไปเป็นเหตุผลสนับสนุนการตัดสินใจได้ไม่ยาก
นี่เป็นเพียงตัวอย่างเพื่อความเข้าใจ ได้ง่ายๆเท่านั้น แต่ ผู้ประกอบการ SMEs ลองนึกภาพดูว่า หาก เราไม่ค้นหาคำนี้ ลองเปลี่ยนเป็นคำอื่นๆที่เราต้องการทำธุรกิจ ที่มีมูลค่า ที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น "รถมือสอง" "ที่ดิน" "คอนโด" "หุ้น" ให้ตอบรับกับธุรกิจของท่าน
เท่านี้เราก็เริ่มรู้จักกับ Google Trends เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนการตลาดของเราได้ เบื้อต้นแล้ว
ตอนต่อไปเราจะเริ่มลงลึกไปว่า เราจะเปรียบเทียบความสนใจในแต่ละคำค้นหาได้อย่างไร และเจาะลึกไปยังความสนใจเพื่อเลือกข้อความในการโปรโหมดสินค้าผ่าน online เราได้อย่างถูกต้อง
ป้ายกำกับ:
Digital Lifestyle,
FF2020,
Google trends,
ibmd,
ismed,
megatrend,
mega trend,
SMEs
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)